การเลือกซื้อ PLC แบบง่ายๆ

พื้นฐาน การเลือกซื้อ PLC แบบง่ายๆ
คุณเคยมีปัญหากับการเลือกซื้อ PLC ตัวแรกหรือไม่ คิดว่าหลายคนคงมีปัญหาแน่นอน เช่น จะหาร้านขาย PLC ที่ไหน ใช้ไฟกี่โวลท์ ใช้ อินพุตเท่าไหร่ เอ้าท์พุตเท่าไหร่ มีอินพุตแบบไหน ใช้ PLC ควบคุมอะไร ใช้ยี่ห้ออะไร ราคาเท่าไหร่ ใช้โปรแกรมไหนในการเขียน เป็นคำถามที่เกิดขึ้นเสมอสำหรับมือใหม่ แล้วคุณมีปัญหาแบบนี้ไหม คิดว่าหลายท่านกำลังเจออยู่อัันที่จริงแล้วไม่ยากเลยใน การเลือกซื้อ PLC แบบง่ายๆ  เราจะรวบรวม 10 วิธีการเลือกซื้อ PLC เบื้องต้นมาให้พิจารณากัน

ข้อที่หนึ่ง PLC ยี่ห้ออะไรบ้าง
พีแอลซีนั้นมีหลายยี่ห้อ ในเมืองไทยมีประมาณสิบยี่ห้อที่เป็นนนิยมในท้องตลาด สามารถหาซื้อได้โดยทั่วไป มีทั้งมือหนึ่งหรือมือสอง ตามงบประมาณและงานที่ได้ออกแบบไว้ หรือโปรเจคสำหรับนักศึกษา เนื่องจากโปรเจคนักศึกษานั้น ต้องการแค่ทดลองให้เกิดผลตามที่ออกแบบโปรแกรมไว้ ไม่จำเป็นต้องนำไปใช้จริง จึงสามารถเลือกใช้ PLC มือสองหรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อประหยัดงบประมาณ โดยเราจะแนะนำพีแอลซียี่ห้อต่าง ๆ เช่น

PLC MITSUBISHI เป็น PLC จากประเทศญี่ปุ่นมีราคาย่อมเยา สามารถหาซื้อได้ทั่วไป
มีหลากหลายรุ่น ใช้งานตั้งแต่ โรงจอดรถไปจนถึงโรงงานขนาดใหญ่  รุ่นที่นิยมในประเทศไทยคือรุ่น
FX,FN,IQ,Q รุ่นที่นิยมมากที่สุดคือตระกูล FX หรือช่างจะเรียกว่า FX ซีรีย์ เพราะมีราคาย่อมเยาใช้งานได้หลากหลาย เรียกว่า PLC แบบ all in one ก็ว่าได้เนื่องจากจ่ายไฟเลี้ยงแล้วสามารถใช้งานได้เลย
การเลือกซื้อ PLC แบบง่ายๆ

PLC OMRON เป็น PLจากประเทศญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน plc omron มีให้เลือกหลายหลายรุ่น เช่นเดียวกับ plc ยี่ห้ออื่น ๆ รุ่นที่นิยมในท้องตลาดคือรุ่น CP1L,CP1H,CP1E  ซึ่ง OMRON เรียกว่า PLC แบบ BLOCK TYPE หมายถึงในตัว PLC ประกอบไปด้วย แหล่งจ่ายไฟ CPU หน่วยความจำ อินพุต/เอ้าท์พุต สามารถใช้งานได้ทันที
การเลือกซื้อPLCแบบง่ายๆ-3
PLC SIEMENS เป็น PLC จากประเทศเยอรมัน มีรุ่นที่นิยมใช้ในประเทศไทยคือ ตระกูล S7-200,S7-1200,S7-300,S7-400  สามารถเลือกได้ตามความต้องการของแต่ละงาน รุ่นเล็กสุดจะเป็นรุ่น S7-200 ราคาจะถูกที่สุดในตระกูล S7
ข้อที่สอง ใช้ไฟกี่โวลท์
ในส่วนของการใช้ไฟฟ้านั้นต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ความสะดวก ในการปฎิบัติงานเป็นหลัก เนื่องจากโดยทั่วไปนั้น PLC จะสามารถรับแหล่งจ่ายไฟ(แหล่งจ่ายไฟ คือ ไฟที่ต่อเพื่อให้ PLC ทำงาน โดยทั่วไปจะเรียกว่าเพาเวอร์ซับพลาย( POWER SUPPLY) ได้ แบบ คือ
แบบ AC 85-220 โวลท์และ ไฟ DC 24V  อีกส่วนหนึ่งคือไฟอินพุตและเอ้าท์พุต ในส่วนนี้ก็เช่นเดัยวกัน อินพุตสามารถรับไฟได้สองแบบเช่นเดียวกันคือไฟ DC และ AC
เอ้าท์พุตสามารถรับไฟได้สองแบบเช่นเดียวกันคือไฟ DC 24V และ AC 220V คุณต้องตรวจสอบคุณสมบัติของ PLC ในแต่ละยี่ห้อว่าใช้ไฟเลี้ยงเท่าไหร่ อินพุตรับไฟเลี้ยงเท่าไหร่กี่แอมป์ เอ้าท์พุตเป็นชนิดใด เช่น RELAY,TRANSISTOR หรือ TRIAC เราจะมาดู PLC แต่ละยี่ห้อว่ามีการระบุสเปคไว้ว่าอย่างไร เช่น

PLC MITSUBISHI รุ่น FX1S Series อธิบายคร่าว ๆ ได้คือ
ในแถบสีเขียว ในหัวข้อมีคำว่า
MODEL คือรุ่นของ PLC  ในตารางเป็นรุ่น  FX1S-30MT-ESS-UL
INPUT คือ จำนวน อินพุต  เท่ากับ 16
TYPE  ชนิดการต่อใช้ไฟ  24VDC  ได้ทั้ง sink และ source
OUTPUT คือจำนวน เอาต์พุต เท่ากับ 14
TYPE ชนิดของเอาต์พุตเป็น ทรานซิสเตอร์
POWER SUPPLY คือไฟเลี้ยงที่ทำให้ PLC ทำงานได้ ใช้ไฟ 85-264 VAC คือไฟบ้านนี่เอง
DIMENSION จะเป็นเรื่องของขนาด มี กว้าง ยาว สูง
MASS คือน้ำหนัก
ในส่วนแถบสีแดงหัวข้อ OUTPUT ->  TYPE จะเป็น รีเลย์ (Relay)
การเลือกซื้อPLCแบบง่ายๆ-3
ข้อที่สาม INPUT / OUTPUT
ขึ้นอยู่กับรุ่นและราคาของ plc แต่ละยี่ห้อ เนื่องจาก plc แต่ละยี่ห้อสร้างมาเพื่อทำงานในระบบอัตโนมัติ
ตั้งแต่ระบบง่าย ๆ จนถึงซับซ้อน บางยี่ห้อมีแบบ module เพียงอย่างเดียวซึ่งสามารถขยายจำนวน input/output ได้มาก แต่ราคาก็จะแพงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นเราจึงต้องพิจารณาว่าควรจะใช้เท่าไหร่จึงจะพอเหมาะหรืออาจจะเผื่อไว้ขยายในอนาคตไปเลย

ข้อที่สีี สามารถใช้ input แบบไหนได้บ้าง
โดยทั่วไป input นั้นจะสามารถรับได้ แบบหลัก ๆ คือ
·      input แบบ analog เช่น สามารถรับสัญญานแรงดัน ขนาดต่าง ๆ ตั้งแต่ 1-5 V หรือ 4-20ma
·      input แบบ digital เช่น switch  on/off ทั่ว ๆ ไป

ข้อที่ห้า output มีกี่แบบ
·      แบบรีเลย์ ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากควบคุมโหลดได้ทั้งแบบ เอซี และ ดีซี
·      แบบทรานซิสเตอร์ มีความเร็วสูงมากกว่ารีเลย์มาก ไม่มีส่วนเคลื่อนไหวเหมือนรีเลย์ ข้อเสียคือใช้ได้เฉพาะไฟ ดีซี เท่านั้น
·      แบบไทรแอก เป็น สารกึ่งตัวนำเช่นเดียวกับ ทรานซิสเตอร์ แต้ใช้งานได้เฉพาะไฟ AC เท่านั้น
ข้อที่หก ความจุของหน่วยความจำ
ยิ่งมีมากก็สามารถที่จะเขียนโปรแกรมควบคุมได้มาก แต่ราคาก็จะแพงมากขึ้นไปด้วย

ข้อที่เจ็ด การเชื่อมต่อระบบเครือข่าย
ปัจจุบันนี้มีความสำคัญมากเนื่องจาก ระบบการผลิตขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของกระบวนการผลิตอยู่ตลอดเวลา เพื่อลดปัญหาการขัดข้องในสายพานการผลิต วิธีที่นิยมคือการมอนิเตอร์ระบบควบคุมต่าง ๆ แบบตลอดเวลาเพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเพื่อบำรุงรักษาเชิงป้องกัน   ตัวแอลซีในปัจจุบันจึงต้องสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายและสามารถมอนิเตอร์ระบบได้จากศูนย์กลางทั้งระยะใกล้คือภายในโรงงานเองหรือระยะไกลจากระบบอินเตอร์เน็ต
บทสรุป
การเลือกซื้อ PLC แบบง่ายๆ นั้นไม่ยากแน่นอน เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้วจะพบว่ามีไม่กี่ข้อที่คุณต้องรู้ เพื่อนำไปเลือกซื้อให้ถูกต้องตามงานของคุณ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ https://www.po-recycle.com/contact/
หรือทาง FACEBOOK
ID LINE ฝ่ายขาย : @a-automation


ID LINE ฝ่ายรับซื้อ : @buy-plc

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น